ลดความชื้นเพียง 3 ชั่วโมง เครื่องลดความชื้นเมล็ดข้าวเปลือกสำหรับเกษตรกรรายย่อย นักวิจัย มทร.ธัญบุรี

นศ.สถาปัตย์ มทร.ธัญบุรี รีโนเวท 10 ร้าน น่านั่ง ชุมชนเคหะรังสิต คลองหก
2 พฤศจิกายน, 2023
จดหมายข่าว ก.ย. – ต.ค. 66
3 พฤศจิกายน, 2023
นศ.สถาปัตย์ มทร.ธัญบุรี รีโนเวท 10 ร้าน น่านั่ง ชุมชนเคหะรังสิต คลองหก
2 พฤศจิกายน, 2023
จดหมายข่าว ก.ย. – ต.ค. 66
3 พฤศจิกายน, 2023

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มานพ แย้มแฟง นักวิจัยและอาจารย์ประจำสาขาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี  พร้อมด้วย นายดาริส แอนดริส นายพรหมพิริยะ      พงศ์ทอง นักศึกษาชั้นปีที่ 3 พัฒนาและออกแบบเครื่องลดความชื้นเมล็ดข้าวเปลือกสำหรับเกษตรกรรายย่อย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มานพ เล่าว่า เกษตรกรรายย่อยส่วนใหญ่ประสบปัญหาเรื่องการลดความชื้นเมล็ดข้าวเปลือก ซึ่งข้าวเปลือกที่เก็บเกี่ยวมาจากแปลงนาโดยทั่วไปมีความชื้นอยู่ในช่วง 25 – 30 % เกษตรกรจะต้องลดความชื้นของข้าวเปลือกให้เหลือ 13 – 14 % เพื่อความเหมาะสมในการเก็บรักษา ปัญหาที่ประสบคือไม่มีพื้นที่ตากข้าวเปลือก เพื่อลดความชื้นเมล็ดข้าวเปลือก เกษตรกรบางคนใช้พื้นที่ถนนสาธารณะตากข้าวเปลือกซึ่งผิดกฎหมาย อันตราย และอาจเป็นสาเหตุให้เกิดอุบัติเหตุ บางส่วนใช้พื้นที่ของหน่วยงานราชการซึ่งประสบปัญหาเรื่องของช่วงเวลาในการใช้สถานที่และจำนวนพื้นที่ไม่เพียงพอ เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวจึงมีการออกแบบและสร้างเครื่องลดความชื้นเมล็ดข้าวเปลือกระดับครัวเรือนเพื่อแก้ปัญหาให้กับเกษตรกรรายย่อย

โดยจุดเด่นของเครื่องลดความชื้นเมล็ดข้าวเปลือกสำหรับเกษตรกรรายย่อย สามารถลดระยะเวลาการลดความชื้นจากที่ต้องใช้เวลา 1-3 วัน ใช้เวลาเพียง 3 ชั่วโมง ลดการใช้พื้นที่ในการตากแห้งจาก 40 ตร.ม.            เหลือ 3 ตร.ม. สำหรับเมล็ดข้าวเปลือก 300 กิโลกรัม มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานต่ำ ค่าใช้จ่าย 230บาท/ตันข้าวเปลือก ออกแบบโดยใช้แหล่งความร้อน LPG ที่อุณหภูมิ 70 ° C ระบบผลิตลมร้อนมีประสิทธิภาพสูงซึ่งถูกออกแบบให้เกิดการเผาไหม้ที่สมบูรณ์ก่อนส่งเข้าไปในห้องลดความชื้น สามารถลดความชื้นเมล็ดข้าวเปลือกได้ 300 กิโลกรัม/ครั้ง และสามารถใช้งานได้ในทุกฤดูกาล ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการอบแห้งมีเปอร์เซ็นต์การงอกอยู่ในระดับที่ดีมากที่ 90-94% เครื่องลดความชื้นนำไปใช้งานจริงในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี โดยกลุ่มเกษตรกรรายย่อยสำหรับการเก็บรักษาผลผลิต

ปัจจุบันเครื่องดังกล่าวได้ยื่นจดสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์และอนุสิทธิบัตร เกษตรกรรายย่อยสนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ผศ.ดร.มานพ แย้มแฟง 086-6634562

 

ภาพ ข่าว และเผยแพร่โดย : กองประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

 

Comments are closed.